analyticstracking
หัวข้อฝ่าวิกฤตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์
คนไทยอยากให้รัฐบาลรีบแก้ปัญหาการติดสินบน ให้เงินใต้โต๊ะ แก่เจ้าหน้าที่รัฐเร่งด่วนที่สุด
61.3% เห็นด้วยกับการใช้ ม.44 แก้ปัญหาการซื้อขายเก้าอี้ผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการ
67.4% เห็นว่า 2 ปี 6 เดือน รัฐบาลมีมาตรการจริงจังในการปราบปรามคอร์รัปชั่น
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ฝ่าวิกฤตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล
พล.อ. ประยุทธ์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,133 คน พบว่า
 
                 เมื่อถามความคิดเห็นที่มีต่อข่าวการเปิดโปงคดีคอร์รัปชั่น เช่น กรณี
บริษัทโรลส์รอยซ์ติดสินบนซื้อเครื่องยนต์แก่เจ้าหน้าที่การบินไทย และ ปตท.
และกรณีการติดสินบนกล้องซีซีทีวีในรัฐสภา ปี 2549 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่
ร้อยละ 58.1 คิดว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ยังมีช่องโหว่
ไม่รุนแรงพอให้กลัวต่อการกระทำผิด
รองลงมาร้อยละ 46.0 กลัวว่าจะไม่สามารถเอาผิด
กับคนร้ายได้ จับได้แต่ข้าราชการชั้นผู้น้อย มีมวยล้ม และร้อยละ 43.8 กังวลเกี่ยวกับ
ผลประโยชน์ของชาติ และภาษีของประชาชนที่ต้องเสียไป
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าจากผลการเปิดโปงการคอร์รัปชั่นของหน่วยงาน
ราชการและรัฐวิสาหกิจในอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบันรัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดมากที่สุด
เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.8 อยากให้แก้ปัญหาการติดสินบน การให้
เงินใต้โต๊ะ แก่เจ้าหน้าที่รัฐ
รองลงมาร้อยละ 47.7 อยากให้แก้ปัญหาทุจริตการแต่งตั้ง การสอบคัดเลือก การรับเด็กเส้น
เข้ามารับราชการในหน่วยงานภาครัฐ และร้อยละ 47.5 อยากให้แก้ปัญหาการใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์
 
                  ส่วนเมื่อถามว่าเชื่อมั่นหรือไม่ว่าการรื้อระบบการจัดซื้อจัดจ้างจะแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในหน่วย
งานราชการและรัฐวิสาหกิจได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 ระบุว่า“ไม่เชื่อมั่น”
ขณะที่ร้อยละ 30.5 ระบุว่า“เชื่อมั่น”
ส่วนที่เหลือร้อยละ 7.7 ไม่แน่ใจ
 
                  นอกจากนี้เมื่อถามว่าเชื่อมั่นเพียงใดต่อการออกกฎหมายป้องกันการคอร์รัปชั่น เช่น พ.ร.บ. 3
ชั่วโคตร จะช่วยป้องกันการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจได้ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 33.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 7.2 ไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับความเห็นต่อการใช้ ม.44 ในการแก้ปัญหาการซื้อขายเก้าอี้ผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการ
และรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.3 เห็นด้วยกับการใช้ ม.44
ขณะที่ร้อยละ 31.3 ไม่เห็นด้วย ส่วนร้อยละ 7.4
ไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่ารัฐบาลมีมาตรการจริงจังเพียงใด ในการปราบปรามการคอร์รัปชั่นในหน่วยงาน
ราชการและรัฐวิสาหกิจ ตลอดระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.4 เห็นว่ามีมาตรการจริงจัง
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 29.4 เห็นว่ามีมาตรการจริงจังค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 3.2 ไม่แน่ใจ
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อข่าวการเปิดโปงคดีคอร์รัปชั่น เช่น กรณีบริษัทโรลส์รอยซ์ติดสินบนซื้อเครื่องยนต์
                 แก่เจ้าหน้าที่การบินไทย และ ปตท. และกรณีการติดสินบนกล้องซีซีทีวีในรัฐสภา ปี 2549


 
ร้อยละ
คิดว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ยังมีช่องโหว่ ไม่รุนแรงพอให้กลัวต่อการกระทำผิด
58.1
กลัวว่าจะไม่สามารถเอาผิดกับคนร้ายได้ จับได้แต่ข้าราชการชั้นผู้น้อย มีมวยล้ม
46.0
กังวลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติ และภาษีของประชาชนที่ต้องเสียไป
43.8
กังวลกับสถานการณ์คอร์รัปชั่นในแวดวงราชการและรัฐวิสาหกิจของประเทศจะมีเพิ่มมากขึ้น
34.8
กังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของประเทศจะเสียหาย
34.2
 
 
             2. ข้อคำถาม “จากผลการเปิดโปงการคอร์รัปชั่นของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจในอดีตที่ผ่านมา
                 ปัจจุบันรัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดมากที่สุด เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น
                 ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต”
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
การติดสินบน การให้เงินใต้โต๊ะ แก่เจ้าหน้าที่รัฐ
49.8
การทุจริตการแต่งตั้ง การสอบคัดเลือก การรับเด็กเส้น เข้ามารับราชการในหน่วยงานภาครัฐ
47.7
การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์
47.5
ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
46.6
การเอื้อประโยชน์ต่อกิจการที่ตนเอง พวกพ้อง ญาติพี่น้อง มีส่วนได้เสีย
43.1
 
 
             3. ข้อคำถาม “เชื่อมั่นหรือไม่ว่าการรื้อระบบการจัดซื้อจัดจ้างจะแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่น
                 ในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจได้”


 
ร้อยละ
ไม่เชื่อมั่น
61.8
เชื่อมั่น
30.5
ไม่แน่ใจ
7.7
 
 
             4. ความเชื่อมั่นต่อการออกกฎหมายป้องกันการคอร์รัปชั่น เช่น พ.ร.บ. 3 ชั่วโคตร จะช่วยป้องกัน
                 การคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจได้

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
   (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 24.3)
59.0
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
   (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.1 และมากที่สุดร้อยละ5.7)
33.8
ไม่แน่ใจ
7.2
 
 
             5. ความเห็นต่อการใช้ ม.44 ในการแก้ปัญหาการซื้อขายเก้าอี้ผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการและรัฐวิสาหกิจ

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
61.3
ไม่เห็นด้วย
31.3
ไม่แน่ใจ
7.4
 
 
             6. ข้อคำถาม “คิดว่ารัฐบาลมีมาตรการจริงจังเพียงใด ในการปราบปรามการคอร์รัปชั่นในหน่วยงาน
                 ราชการและรัฐวิสาหกิจ ตลอดระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา”

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
   (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 52.8 และมากที่สุดร้อยละ 14.6)
67.4
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
   (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 22.3 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.1)
29.4
ไม่แน่ใจ
3.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อข่าวการเปิดโปงการคอร์รัปชั่นของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
                  2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
                  3) เพื่อต้องสะท้อนความเห็นว่ารัฐบาลมีมาตรการจริงจังเพียงใด ในการปราบปรามการคอร์รัปชั่นในหน่วยงาน
                      ราชการและรัฐวิสาหกิจ ตลอดระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 กุมภาพันธ์ 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
617
54.5
             หญิง
516
45.5
รวม
1,133
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
160
14.1
             31 – 40 ปี
244
21.5
             41 – 50 ปี
321
28.4
             51 – 60 ปี
269
23.7
             61 ปีขึ้นไป
139
12.3
รวม
1,133
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
699
61.7
             ปริญญาตรี
355
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
79
7.0
รวม
1,133
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
173
15.3
             ลูกจ้างเอกชน
263
23.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
473
41.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
38
3.4
            ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
132
11.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
35
3.1
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
13
1.1
รวม
1,133
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776